Featured post
เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี
โดย...ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ โครงการสถาบันวิจัยการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)รายงานวิจัยของธนาคารโลก (2558) ชี้ให้เห็นว่า การลดความขาดแคลนครูเป็นหนึ่งในโจทย์สำคัญสำหรับการยกระดับคุณภาพและการลดความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาไทย โดยหากโรงเรียนในกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำที่สุดและมีครูไม่ครบชั้นเรียน ได้รับจัดสรรครูเพิ่ม 1 คนต่อ 1 ห้อง ผลการเรียนของนักเรียนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ซึ่งจะลดช่องว่างผลการเรียนระหว่างนักเรียนและโรงเรียนลงด้วย
ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ไขอย่างไรดี
ปัญหาความขาดแคลนครูกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก หรือโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ในปี 2557 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. มีโรงเรียนขนาดเล็กประมาณ 1.5 หมื่นแห่ง หรือประมาณร้อยละ 50 ของ ร.ร. ทั้งหมด โดย 1.4 หมื่นแห่ง เป็นโรงเรียนที่สอนเฉพาะระดับอนุบาล หรือระดับประถมศึกษา หรือสอนทั้งสองระดับ (ร.ร.อนุบาล - ประถม) โรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มนี้สอนนักเรียน 9 แสนกว่าคน หรือร้อยละ 22 ของนักเรียนอนุบาลและประถมศึกษาทั้งหมดใน ร.ร. สังกัด สพฐ. ดังนั้น การลดความขาดแคลนครูน่าจะช่วยยกระดับผลการเรียนให้กับนักเรียนจำนวนถึง 1 ใน 5 ในระดับชั้นอนุบาล - ประถมศึกษา ซึ่งเป็นฐานสำคัญของการเรียนรู้ในอนาคตเพื่อลดความขาดแคลนครูดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการควรต้องดำเนินโยบาย 4 ประการ ดังนี้
ประการแรก ปรับเกณฑ์จำนวนครูที่เหมาะสมในโรงเรียนให้เพียงพอกับภาระงานและเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของความขาดแคลนครู คือ หลักเกณฑ์จำนวนครูที่เหมาะสมในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ไม่สอดคล้องกับภาระงานและสภาพความเป็นจริงในโรงเรียน ปัจจุบัน สพฐ. ใช้เกณฑ์ที่ว่าโรงเรียนอนุบาล - ประถมทั่วไป ควรมีครูเฉลี่ยประมาณ 1 คนต่อนักเรียน 25 คน [2] ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กควรมีครู 1 คนต่อนักเรียน 20 คน เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์นี้ พบว่าในปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาล - ประถมขนาดเล็กประมาณ 1 พันแห่ง มีจำนวนครูไม่ถึงเกณฑ์ โดยขาดแคลนครูรวมกัน 1.2 พันคน แต่ ร.ร. อีก 8.5 พันแห่ง มีจำนวนครูเกินรวมกัน 1.5 หมื่นคน ภาพปัญหาความขาดแคลนครูกลับไปกระจุกตัวอยู่ที่โรงเรียนขนาดกลาง โดยมี ร.ร. ขนาดกลางถึง 2.5 พันแห่ง ขาดแคลนครูรวมกัน 4 พันคน (ดูภาพที่ 1)
กระทรวงศึกษาธิการควรมองเห็นภาพปัญหาความขาดแคลนครูตามสภาพจริงข้างต้นก่อน จึงจะแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ดังนั้น ควรปรับปรุงเกณฑ์จำนวนครูที่เหมาะสมให้เพียงพอกับภาระงานของโรงเรียน เช่น อาจกำหนดให้ทุกห้องเรียนควรมีครูดูแลอย่างน้อย 1 คน และพิจารณาเพิ่มจำนวนครูตามภาระงานอื่นซึ่งเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักเรียนสำหรับโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่
ประการที่สอง ดำเนินนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก
การจัดสรรเพิ่มครูให้เพียงพอจะต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ในปี 2557 จำเป็นต้องมีครูเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2.6 หมื่นคน จึงจะมีจำนวนครูครบทุกห้องเรียนใน ร.ร. อนุบาล - ประถม ขณะที่งบประมาณด้านการศึกษาปัจจุบันนั้นสูงมากกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณทั้งหมดแล้วและคงไม่สามารถเพิ่มขึ้นไปกว่านี้ได้อีก
ดังนั้น มาตรการจัดสรรเพิ่มครูให้เพียงพอจึงควรดำเนินควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรด้วย เช่น สนับสนุนให้โรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กันร่วมกันจัดการเรียนรู้ เพื่อขยายให้ห้องเรียนใหญ่ขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ยห้องละ 8 - 9 คน เป็น 20 คน และลดจำนวนห้องเรียนและความต้องการครูลง ทั้งนี้ นโยบายการเรียนรวมและนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพใด ๆ ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการศึกษา
ประการที่สาม ปรับวิธีการจัดสรรบุคลากรครูให้โรงเรียนได้รับจำนวนครูตามเกณฑ์จำนวนครูที่เหมาะสมและได้ครูตามความต้องการ
การปรับเกณฑ์จำนวนครูอย่างเดียวไม่อาจทำให้โรงเรียนแต่ละแห่งมีจำนวนครูอย่างเพียงพอได้ หากลองสมมติไปก่อนว่าเกณฑ์จำนวนครูที่ใช้ในปัจจุบันมีความเหมาะสม ในปี 2557 ระบบการศึกษาไทยขาดแคลนครูทั้งระบบเพียง 6 พันกว่าคนเท่านั้น แต่หากมองเฉพาะกลุ่มโรงเรียนที่ขาดแคลนครู กลับมีความขาดแคลนถึง 3 หมื่นกว่าคน การจัดสรรที่ไม่ประสิทธิภาพทำให้โรงเรียนขาดแคลนครูเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 5 เท่า (ดูภาพที่ 2)
อีกทั้ง โรงเรียนอนุบาล - ประถมขนาดเล็กต้องการครูที่สามารถสอนได้หลากหลายวิชาหรือจบวิชาเอกประถม แต่ปัจจุบันกลับมีครู 1 หมื่นคนที่จบศึกษาศาสตร์วิชาเอกอื่น สอนวิชาประถม (สอนทุกวิชา) ในกลุ่มโรงเรียนอนุบาล - ประถมขนาดเล็ก ขณะที่ โรงเรียนอีกกลุ่มกลับมีครูจบวิชาเอกประถม 1.4 หมื่นคน ทำการสอนเพียงวิชาเดียวหรือบางวิชา (ดูภาพที่ 2)
ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่ากระทรวงศึกษาธิการไม่สามารถบริหารการจัดสรรจำนวนครูให้เป็นไปตามเกณฑ์จำนวนครูที่เหมาะสมและเป็นไปตามความต้องการของโรงเรียนได้
ปัจจุบันการจัดสรรคำนึงถึงความสมัครใจของครูมากกว่าความต้องการของนักเรียน “คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา” ดูแลบริหารจัดการด้านบุคลากรในเขตพื้นที่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดจากกส่วนกลาง เช่น หากโรงเรียนมีจำนวนครูเกินหลักเกณฑ์ ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ โอนย้ายครูไปโรงเรียนที่ขาดแคลนครู อย่างไรก็ตาม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่บางแห่งจะย้ายครูก็ต่อเมื่อครูยินยอม โดยอ้างว่ายังไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดในการเลือกครูที่จะถูกโอนย้าย เมื่อไม่มีครูยินยอมย้าย โรงเรียนที่ขาดแคลนครูก็ไม่สามารถบรรจุข้าราชการครูเพิ่มได้ เนื่องจากข้อจำกัดที่ว่าโรงเรียนได้รับงบตามจำนวนบุคลากรที่เป็นข้าราชการครู ไม่ใช่จำนวนนักเรียนหรือจำนวนห้องเรียน
การแก้ไขปัญหาวิธีการจัดสรรทำได้หลากหลายวิธี เช่น ให้ตัวแทนพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้นำชุมชนเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการ อ.ก.ค.ศ. มากขึ้น พร้อมทั้งทำข้อมูลจำนวนครูเผยแพร่แก่สาธารณะสำหรับการติดตามและตรวจสอบ หรือปรับวิธีการจัดสรรทรัพยากร โดยจัดสรรเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรตามหลักเกณฑ์จำนวนครูที่เหมาะสมใหม่ โรงเรียนใดที่ยังมีจำนวนครูไม่ครบห้องเรียน ก็จะมีเงินทรัพยากรเหลือสำหรับจัดจ้างครูใหม่ ขณะที่ โรงเรียนที่มีจำนวนครูเกิน ควรยอมให้ครูบางคนย้ายไปสู่โรงเรียนขาดแคลน หรือหากจะรักษาจำนวนครูไว้เท่าเดิม ก็จำเป็นต้องปรึกษาผู้ปกครองและชุมชนเพื่อระดมทรัพยากรเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ควรให้โรงเรียนมีอำนาจตัดสินใจในการคัดเลือกและรับโอนย้ายครูด้วย เพื่อให้ได้ครูตรงกับความต้องการของโรงเรียนเอง
Advertisement
ประการสุดท้าย วางแผนการเตรียมความพร้อมครูประถมศึกษารุ่นใหม่ให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต
เมื่อโรงเรียนอนุบาลและประถมขนาดเล็กจำนวนมากควรต้องมีครู 1 คนต่อห้อง นั้นก็แสดงว่าครูจะต้องสอนได้หลากหลายวิชาและเข้าใจการเรียนรู้โดยรวมของนักเรียนมากกว่าจบวิชาเอกด้านใดด้านหนึ่ง จึงควรต้องเตรียมให้ครูรุ่นใหม่มีความพร้อมและทักษะการสอนเหล่านี้
ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า ระบบการศึกษาไทยยังไม่มีการวางแผนการเตรียมความพร้อมครูรุ่นใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนอนุบาลและประถมขนาดเล็ก
ใน 10 กว่าปีที่ผ่านมาแม้จำนวนโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้น 1 หมื่น เป็น 1.5 หมื่นแห่ง จำนวนสถาบันที่เปิดสอนคณะศึกษาศาสตร์เอกวิชาประถมกลับลดลงเหลือ 22 จาก 44 แห่ง [3]
ในปี 2557 มีผู้สมัครเข้ารับข้าราชการครูสังกัด สพฐ. ในสาขาวิชาประถมเพียง 3 พันคนจากผู้สมัครทั้งหมด 1 แสนคน ขณะที่ สพฐ. ยังขาดครูที่จบวิชาประถมอีกอย่างน้อย 4 พันกว่าคน
ในปี 2556 - 2560 คาดว่าจะมีผู้จบเอกวิชาประถมศึกษา 8 พันคนจากผู้จบทั้งหมด 2.5 แสนคน ขณะที่ ในปี 2557 - 2561 ครูที่สอนวิชาประถมศึกษาจะเกษียณถึง 2 หมื่นคน จากผู้เกษียณทั้งหมด 1 แสนคน (ดูภาพที่ 3)
การศึกษาข้างต้น ชี้ว่า กระทรวงศึกษาฯ และผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณาปรับปรุงกระบวนการวางแผนรับและเตรียมความพร้อมบุคลากรครูรุ่นใหม่ เพราะมิเช่นนั้น แม้มีครูครบชั้น แต่สอนได้เฉพาะวิชาเดียว ก็อาจไม่เกิดผลดีต่อผลการเรียนของนักเรียนดังที่คาดหวัง
ขอบคุณที่มาจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 14 ก.ค.2558
ภาพ http://www.gsb.or.th/products/img/hilight/hl-teacher.jpg
- รับลิงก์
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี
ดาวน์โหลด"มานะมานี" แจกไฟล์ตำราเรียนฟรี สวัสดีครับทุกท่าน ปัญหาการอ่านเขียนไม่คล่องของเด็กและเยาวชนของเรานับวันยิ่งมีปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนน่ากลัว การแก้ไขปัญหาภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการศึกษาเสียแล้วครับ เมื่อหลายท่าน ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า จะปล่อยปะละเลยต่อปัญหานี้ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดี วันนี้ ครูเดชจึงได้นำไฟล์ตำราเรียน ที่แสนจะวิเศษ และผมเองกล้าการันตรีว่า หากนักเรียน หรือ ผู้ที่มีปัญหาภาษาไทย ได้ตั้งใจอ่าน ตั้งใจทำความเข้าใจ จะสามารถพัฒนาภาษาไทยไปได้อย่างดีเยี่ยมเลยครับ "มานะ มานี" นอกจากจะเป็นตำราภาษาไทย ที่คนที่มีอายุหลายท่านได้สัมผัสเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยมาแล้ว ท่านจะทราบว่าตำราเรียนเล่มนี้ ไม่ได้มีแต่ความรู้ภาษาไทย อย่างเดียวไม่ หากแต่มีความน่าสนุก น่าสนใจ และความตื้นเต้น กลวิธีนี้เองล่ะครับ ที่ผมเห็นว่า เป็นอุบายล่อให้เด็กสนใจตำราเรียนได้เป็นอย่างดี ความสนุก ความเพลิดเพลิน เมื่อนักเรียนอ่านจบเล่ม ตัวละครก็จบชั้นเดียวกัน เมื่อเลื่อนชั้น นักเรี
แจกฟรีแบบฝึกหัดภาษาไทยมานะมานี ป.1
แจกฟรี แบบฝึกหัดภาษาไทยใช่ควบคู่กับตำรามานะมานี ป. 1 คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดครับ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 1-5 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 6-10 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 11-15 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 16-20 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 21-25 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 26-30 แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 31-35 อยู่ในขณะจัดทำ แบบฝึกหัด มานะมานีบทที่ 36-40 อยู่ในขณะจัดทำ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยที่ออสเตรเลีย หาครูสอนภาษาไทยที่ญี่ปุ่น หาครูสอนภาษาไทยที่เวียดนาม หาครูสอนภาษาไทยที่อเมริกา หาครูสอนภาษาไทยที่เยอรมัน หาครูสอนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส Learn Thai with native speakers. หาครูสอนภาษาไทยอ่านเขียน สอนอ่านหนังสือภาษาไทย สอนอ่านเขียน ลูกอ่านภาษาไทยไม่ออก หาครูแก้ไขภาษาไทย สถาบันสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาไทย หาครูสอนภาษาไทยนานาชาติ หาครูสอนภาษาไทยลูกครึ่ง หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนพิเศษ ห
กทม. 6 โซน : เพื่อวางแผนเส้นทางการสอนสำหรับติวเตอร์
ให้ติวเตอร์ใช้เขตพื้นที่เหล่านี้ เพื่อระบุพื้นที่ที่ท่านสามารถเดินทางไปสอนได้สะดวกครับ ศูนย์จะแจ้งงานให้ท่านทราบตามพื้นที่การเดินทางที่ท่านสะดวกครับ โปรดแจ้งตามความสะดวกจริง เพื่อความรวดเร็วในการรับงานสอนนะครับ 1.กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดินแดง ห้วยขวาง พญาไท ราชเทวี และวังทองหลาง 2.กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง และบางนา 3. กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ ดอนเมือง สายไหม และบางเขน 4.กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบด้วย เขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม คันนายาว ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวาและประเวศ 5.กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา 6.กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะและทุ่งครุ เรียนออนไลน์ เรียนภาษาไทยออนไลน์ เรียนอ่านเขียนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยออนไลน์ หาครูสอนภาษาไทยท