บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2012

Featured post

เรียนภาษาไทย-ติวO-NETสังคม : การวิเคราะห์วรรณกรรมไทย

ในบทนี้ครูจะนำบทงานเขียนที่ปรากฏอยู่ในรายงานกระบวนวิชา บทบาทพระพุทธศาสนากับสังคมไทย ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาให้เป็นแนวนทางสำหรับทุก ๆ ท่านได้นำเป็นแนวทางในการวิเคราะห์วรรณกรรม ถึงแม้วว่าจะไม่ละเอียดมากนักและไม่ตรงตามหลักการวิเคราะห์เสมอไป ครูก็อยากให้ผู้อ่านได้ความรู้จากเนื้อหานี้บ้างไม่มากก็น้อยครับ บทที่ ๘ การเข้ามามีบทบาทและอิทธิต่อความคิดของกวี ในวรรณกรรม ของพระพุทธศาสนา เขียนโดย สุรเดช   ภาพันธ์                 สังคม มีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นส่วนสำคัญ ความคิด การกระทำ การแสดงออก และทัศนะความคิดเห็นเป็นสิ่งที่มนุษย์กระทำ โดยเลียนแบบซึ่งกันและกันทั้งความดีและความเลว    กวีเป็นอีกผู้หนึ่งในสังคมที่สรรสร้างบทความทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ออกมาเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ความนึกคิดของสังคม และความเป็นไปแห่งจิตนาการ                 เมื่อมนุษย์มีชีวิต สิ่งที่ใหญ่หลวงเหลือเกินของมนุษย์ในห้วงหนึ่ง ที่ย่อมปรารถนาให้ประสบพบเจอ นั้นก็คือ ความรัก ไม่ว่าความรักนั้นจะเป็นสิ่งใด ๆ เป็นความจริงอันประเสริฐ หรือความทุกข์เลวร้ายอันระทม มนุษย์ต่างแสวงหา หรือแม้กระทั่งฉุดคร่านเอามาเพ